การเลี้ยงสุนัขในปัจจุบันแตกต่างไปจากในอดีต เนื่องจากสุนัขได้รับความสำคัญเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว การดูแลสุขภาพสุนัขได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งการฉีดวัคซีนสุนัข การตรวจสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึง 9 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนในสุนัข
1. ควรเริ่มฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ดี?
ถ้าคุณนำลูกสุนัขตัวใหม่เข้ามาเลี้ยงและต้องการฉีดวัคซีน คุณต้องแน่ใจว่าลูกสุนัขสุขภาพดีและพร้อมสำหรับการฉีดวัคซีน เนื่องจากการฉีดวัคซีนเป็นการฉีดเชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนแอหรือเฉพาะบางส่วนของเชื้อโรคเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค
ลูกสุนัขกับสุนัขโต เริ่มต้นโปรแกรมวัคซีนไม่เหมือนกันนะ...
สัตวแพทย์แนะนำให้ดูอาการลูกสุนัขที่บ้าน ภายหลังจากรับมาเลี้ยงอย่างน้อย 7 วัน โดยแยกเลี้ยงกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นที่บ้าน จนแน่ใจว่าไม่มีอาการผิดปกติ จึงเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรก และวัคซีนเข็มแรกควรเริ่มทำเมื่อลูกสุนัขอายุ 6-8 สัปดาห์
ถ้าสุนัขที่นำมาเลี้ยงเป็นสุนัขโต แต่ไม่รู้ว่าเคยฉีดวัคซีนมาก่อนหรือไม่ เจ้าของต้องการเริ่มโปรแกรมวัคซีนใหม่ สัตวแพทย์แนะนำให้แยกสุนัขออกจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่นที่บ้าน สังเกตอาการป่วยอย่างน้อย 7 วัน จึงเริ่มต้นโปรแกรมวัคซีน
ฉีดวัคซีนกรณีพิเศษ
การฉีดวัคซีนมีข้อยกเว้นสำหรับสุนัขที่เสี่ยงติดเชื้อ เช่น โดนกัด สุนัขเลี้ยงปล่อยและอยู่ในเขตโรคระบาด โดยลูกสุนัขอาจเริ่มฉีดวัคซีนก่อนอายุ 6-8 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามสุนัขต้องมีสุขภาพดีเท่านั้น
เจ้าของสุนัขสามารถปรึกษาสัตวแพทย์ได้หากสงสัยว่าควรได้รับวัคซีนเป็นกรณีพิเศษหรือไม่
2. สุนัขควรได้รับวัคซีนสำหรับป้องกันโรคอะไรบ้าง
วัคซีนในสุนัขมีหลายชนิดซึ่งอาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ วัคซีนหลัก (Core vaccine) และวัคซีนทางเลือก (Non-core vaccine) โดยอ้างอิงตาม WSAWA (The World Small Animal Veterinary Association) ซึ่งให้คำแนะนำในการฉีดวัคซีนสุนัข ตามความจำเป็นและความสามารถในการป้องกันโรคภายหลังการได้รับวัคซีน ควรปรึกษาสัตวแพทย์ในการเลือกชนิดวัคซีน เนื่องจากความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน
เป็นวัคซีนป้องกันโรคที่สุนัขมักติดเชื้อและมีอาการรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตได้ มีดังนี้
- วัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบพาร์โวไวรัส (CPV-2)
- วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ (CAV-2)
- วัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข (CDV)
- วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
แนะนำให้ฉีดวัคซีนหลักและกระตุ้นวัคซีนหลักให้ครบทุกเข็ม
เป็นวัคซีนที่ไม่จำเป็นต้องฉีดในสุนัขทุกตัว ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของสุนัข สามารถขอคำแนะนำได้จากสัตวแพทย์
- วัคซีนป้องกันโรคฉี่หนู (Leptospirosis)
- วัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ (Bordetella bronchiseptica)
- วัคซีนป้องกันพาราอินฟลูเอนซ่าไวรัส (Parainfluenza)
- วัคซีนป้องกันลำไส้อักเสบโคโรน่าไวรัส (Coronavirus)
3.การดูแลสุนัขก่อนพาไปฉีดวัคซีน
4.ตัวอย่างโปรแกรมวัคซีนในสุนัข
ตัวอย่างโปรแกรมวัคซีนในลูกสุนัข
วัคซีนโรคหลอดลมอักเสบติดต่อและโรคพาราอินฟลูเอนซ่าไวรัส
ควรทำวัคซีนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของลูกสุนัข เช่น เลี้ยงสุนัขหลายตัวอย่างแออัด เป็นต้น
วัคซีนรวม 5 โรค
- โรคลำไส้อักเสบพาร์โวไวรัส
- โรคไข้หัดสุนัข
- โรคตับอักเสบ
- โรคพาราอินฟลูเอนซ่า
- โรคฉี่หนู
วัคซีนรวม 6 โรค ครั้งที่ 1
- โรคลำไส้อักเสบพาร์โวไวรัส
- โรคไข้หัดสุนัข
- โรคตับอักเสบ
- โรคพาราอินฟลูเอนซ่า
- โรคฉี่หนู
- โรคพิษสุนัขบ้า
วัคซีนรวม 6 โรค ครั้งที่ 2
- โรคลำไส้อักเสบพาร์โวไวรัส
- โรคไข้หัดสุนัข
- โรคตับอักเสบ
- โรคพาราอินฟลูเอนซ่า
- โรคฉี่หนู
- โรคพิษสุนัขบ้า
หลังจากฉีดวัคซีนครบแล้ว ให้พาสุนัขไปฉีดกระตุ้นวัคซีนรวม 6 โรค ปีละ 1 ครั้ง ตามที่สัตวแพทย์นัดหมาย
ตัวอย่างโปรแกรมวัคซีนในสุนัขโต
ในกรณีที่ได้รับสุนัขโตมาและไม่ทราบประวัติของสุนัขตัวนี้ ควรเริ่มโปรแกรมวัคซีนใหม่
หลังจากฉีดวัคซีนครบแล้ว ให้พาสุนัขไปฉีดกระตุ้นวัคซีนรวม 6 โรค ปีละ 1 ครั้ง ตามที่สัตวแพทย์นัดหมาย
5.ตัวอย่างโปรแกรมวัคซีนในสุนัข
สุนัขบางตัวสามารถเกิดอาการแพ้วัคซีนได้ เนื่องจากส่วนประกอบในวัคซีนบางชนิด ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่เจ้าของสุนัขจะช่วยสัตวแพทย์สังเกตอาการสุนัขหลังจากฉีดวัคซีน
อาการแพ้วัคซีนเป็นอย่างไร
- อาการแพ้ที่รุนแรงคือ อาการหายใจลำบาก (พบได้น้อย)
- มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง บริเวณที่สังเกตง่ายคือ หน้า ท้อง ใบหู สุนัขบางตัวมีอาการบวมรอบตา หรือหน้า บวม
- อาการแพ้รุนแรงแบบอื่น ๆ พบได้น้อยมาก
6.ควรทำอย่างไรบ้างหลังจากฉีดวัคซีน
- ควรรอที่โรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกอย่างน้อย 5-15 นาที เพื่อดูอาการแพ้
- ถ้าสงสัยว่าอาจเกิดอาการแพ้ให้แจ้งสัตวแพทย์ทันที
- ถ้าเคยแพ้วัคซีนมาก่อน เจ้าของควรจดชื่อยี่ห้อวัคซีนไว้ และแจ้งสัตวแพทย์ให้ทราบเพื่อเลือกใช้วัคซีนยี่ห้ออื่นในการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป
7.การดูแลสุนัขหลังจากพาไปฉีดวัคซีน
หลังจากฉีดวัคซีนสุนัขอาจมีไข้ต่ำ ๆ ได้ 1-2 วันแรกหลังจากฉีดวัคซีน เนื่องจากสุนัขมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายในช่วงนี้ จึงไม่ควรอาบน้ำให้สุนัขอย่างน้อย 7 วัน เพราะอาจทำให้อาการไข้แย่ลงได้ สุนัขอาจกินอาหารลดลงเนื่องจากมีไข้และไม่สบายตัว ตอนนี้อาจเป็นช่วงเวลาตามใจให้กินอาหารอร่อย ๆ เช่น อาหารซองแบบเปียก เพราะมีความน่ากินมากกว่าอาหารเม็ด หรืออาหารอื่น ๆ ตามสะดวก
ถ้าสุนัขมีอาการซึมมาก มีไข้สูง มีไข้ติดต่อกันหลายวัน หรือเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีนมาก ควรพาสุนัขกลับไปพบสัตวแพทย์
8.การฉีดวัคซีนมีผลข้างเคียงหรือไม่?
การฉีดวัคซีนอาจมีผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- สุนัขบางตัวมีอาการแพ้วัคซีน
- เจ็บบริเวณตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน
- มีไข้ต่ำ ๆ 1-2 วันแรก
- บริเวณตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน บวม เจ็บ กลายเป็นฝีหนองได้
- บริเวณตำแหน่งที่ฉีดกลายเป็นก้อนแข็ง ซึ่งอาจเกิดจากร่างกายสร้างพังผืด (fibrous tissue) มาห่อหุ้มวัคซีนเพราะคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ซึ่งจะหายได้เองแต่ใช้เวลาระยะหนึ่ง
- ถ้าก้อนแข็งหลังจากฉีดวัคซีนไม่หายไป ใช้เวลานานเป็นเดือน หรือใหญ่ขึ้นหรือเจ็บเวลาเจ้าของจับก้อน ควรปรึกษาสัตวแพทย์
9.ไม่สะดวกพาสุนัขไปฉีดวัคซีนสามารถซื้อไปฉีดเองที่บ้านได้หรือไม่
ถ้าเจ้าของสุนัขไม่สามารถพาสุนัขไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกได้ สามารถติดต่อขอซื้อวัคซีนได้จากทางโรงพยาบาลสัตว์ ปศุสัตว์จังหวัดหรือคลินิก (แนะนำให้โทรเข้าไปสอบถามก่อน เพราะบางที่ไม่ขายยาฉีด) สัตวแพทย์จะอธิบายวิธีฉีดวัคซีนให้กับเจ้าของฟังอย่างละเอียด