กระต่ายจิ๋วตัวใหม่ ดูแลอย่างไรให้พัฒนาการลูกกระต่ายก้าวกระโดดและแข็งแรง

ใช้เวลา 5 นาที ในการอ่านบทความนี้

1.ลูกกระต่ายแรกเกิด

แรกเกิด – 5 วัน

ลูกกระต่ายตัวจิ๋วแรกเกิดไม่มีขน หูหนวก ตายังปิดสนิท แถมยังตัวเย็นเฉียบหากไม่มีขนอ่อนนุ่มของแม่ในรังนอนให้ความอบอุ่น ลูกกระต่ายอาจตายได้ง่าย ๆ ระยะนี้ลูกกระต่ายยังเป็นเหมือนผัก คือนอนอย่างเดียว ขยับตัวไปหานมแม่ตามสัญชาตญาณเท่านั้น 

ลูกกระต่ายแรกเกิดไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายตัวเองได้ ดังนั้นลูกกระต่ายทั้งหมดจะไปนอนกองรวมกันเพื่อให้ความอบอุ่นซึ่งกันและกัน ส่วนแม่กระต่ายจะเข้ามาให้นมลูกเป็นเวลา ทุก 2-4 ชั่วโมงและออกไปร่าเริงข้างนอกรัง ซึ่งแม่กระต่ายสามารถผสมพันธุ์ครั้งใหม่ได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดอีกด้วย

ทำอย่างไร เมื่อต้องดูแลลูกกระต่ายกำพร้าแม่

หากแม่กระต่ายไม่สามารถให้นมลูกได้หรือลูกกระต่ายแรกเกิดต้องแยกจากแม่ เจ้าของสามารถเป็นพ่อแม่จำเป็นให้เด็ก ๆ ได้ ดังนี้

  • สร้างรังให้ลูกกระต่ายด้วยผ่านุ่ม ๆ อุ่น ๆ วางรังไว้บริเวณเงียบสงบและไม่มีแสงจ้า
  • ลูกกระต่ายต้องการความอบอุ่นมากในช่วงที่ยังไม่มีขน การใช้หลอดไฟกกหรือผ้าห่มไฟฟ้า ช่วยให้ความอบอุ่นได้ดี แต่ควรระวังไม่ให้ร้อนจัดจนเกินไป 
  • ป้อนนมลูกกระต่ายด้วยนมลูกแมว นมแพะหรือนมลูกสุนัข ห้ามป้อนนมวัวเด็ดขาดเพราะลูกกระต่ายย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ ความถี่ในการป้อนนมอยู่ที่ 2-4 ชั่วโมง อย่าลืมว่าลูกกระต่ายไม่ร้อง นอนนิ่ง ๆ อย่างเดียว เจ้าของต้องแวะมาสังเกตเองว่าลูกกระต่ายตื่นหรือยังเมื่อถึงเวลากินนม
  • ใช้สำลีหรือผ้านุ่มชุบน้ำอุ่นเช็ดก้นและอวัยวะเพศเพื่อกระตุ้นการขับถ่ายให้ลูกกระต่ายทุกครั้งหลังกินนมเสร็จ

2.พัฒนาการลูกกระต่ายวัยหัดคลาน

อายุ 5-10 วัน

ลูกกระต่ายไร้ขนในช่วงแรกเริ่มมีขนเล็ก ๆ ขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ยังนอนเยอะมากเหมือนเดิม ตาที่ปิดสนิทจะเริ่มเปิดเมื่ออายุ 7-10 วัน หากตายังไม่เปิดหรือเปิดเพียงครึ่งเดียวไม่ต้องกังวลนะคะ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ 

ลูกกระต่ายที่ตาเริ่มเปิดจะสนใจสิ่งแวดล้อมในรังนอนมากขึ้น ขยับตัวไต่ไปมาในรังนอน แต่การตอบสนองยังไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากหูยังไม่ได้ยินเสียง กิจกรรมหลักของกระต่ายเด็กวัยนี้มีเพียงกิน ๆ นอน ๆ เท่านั้น 

ลูกกระต่ายแรกเกิด กำลังนอนกองรวมกัน
ช่วงแรกของชีวิตลูกกระต่ายมีแค่กิน นอนและขับถ่ายเท่านั้น เริ่มมีขนขึ้นบาง ๆ และตาจะเริ่มเปิดอีกไม่ช้า

3.เด็กจิ๋วฟันน้ำนม

อายุ 2-4 สัปดาห์

กระต่ายจิ๋วเริ่มมีขนหนานุ่มตอนนี้ลูกกระต่ายหน้าตาเริ่มเหมือนพ่อแม่แล้วล่ะ หากใครอยากดูเพศน้อง อายุประมาณ 4 สัปดาห์จะแยกเพศได้ชัดเจน ลูกกระต่ายอายุ 19-21 วันเริ่มมีฟันน้ำนมชุดแรกงอกขึ้นมาจำนวน 16 ซี่ ซึ่งงอกออกมาตอนไหนเราก็อาจไม่ทันได้สังเกต 

พัฒนาการกระต่ายตัวจิ๋วก้าวกระโดดมากในช่วง 2-4 สัปดาห์ ลูกกระต่ายมองเห็นและได้ยินเสียงแล้วตอนนี้ เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ในรังนอนรวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ด้วย นี่คือช่วงเวลาที่ดีที่จะสัมผัสกระต่ายน้อยเบา ๆ ให้พวกเขาคุ้นเคยกับเจ้าของ นอกจากนั้นฟันน้ำนมยังช่วยให้ลูกกระต่ายเริ่มอยากลองชิมหญ้าของแม่ ตอนนี้เด็ก ๆ พร้อมจะฝึกเคี้ยวอาหารอื่นนอกเหนือจากนมแม่แล้ว

ลองวางหญ้าอัลฟัลฟ่าให้ทั้งแม่กระต่ายและลูก ๆ เพราะหญ้าชนิดนี้มีโปรตีนสูง แคลเซียมสูง กลิ่นหอมน่ากิน ใบค่อนข้างนุ่ม เหมาะมากสำหรับลูกกระต่ายวัยหัดเคี้ยว

พัฒนาการลูกกระต่ายในการเข้าสังคม กระต่ายขาวดำจ้องหน้ากัน
ลูกกระต่ายเริ่มทำความรู้จักพี่น้องในครอกเดียวกันหรือเพื่อนต่างสายพันธุ์ก็ช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการเข้าสังคมของลูกกระต่าย

4.ลองชิมอาหารใหม่ ๆ

อายุ 5-7 สัปดาห์

ช่วงนี้ลูกกระต่ายกินอาหารเก่งขึ้นมาก เตรียมความพร้อมที่จะหย่านมช่วง 4-6 สัปดาห์ หากลูกกระต่ายกินอาหารอย่างเหมาะสมระบบย่อยอาหารและขับถ่ายจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากเราเริ่มเห็นอึเม็ดเล็ก ๆ จำนวนมากขึ้นและขนาดเม็ดอึค่อนข้างสม่ำเสมอ 

เริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับกระต่ายเด็กช้อนเล็ก ๆ เจ้าของอาจลองให้ลูกกระต่ายชิมผักใบเขียวหรือผลไม้ชิ้นเล็ก ๆ โดยเน้นชนิดที่ไม่หวานมากและมีเยื่อใยอาหารสูง เช่น ขึ้นฉ่าย ต้นอ่อนข้าวสาลี ต้นอ่อนอัลฟัลฟ่า หญ้าขนสด กะเพรา สะระแหน่ หน่อไม้ฝรั่ง แครอท และกระเจี๊ยบเขียว ส่วนผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล มะละกอ แตงโม ฝรั่ง สาลี่และเบอรี่ชนิดต่าง ๆ โดยจำกัดปริมาณและเริ่มจากชิ้นเล็ก ๆ ก่อนนะคะ

ผักผลไม้ที่กระต่ายกินได้ คลิ๊ก

แม่กระต่ายจะไม่สนใจลูก ๆ อีกต่อไปหลังหย่านม เจ้าของจำเป็นต้องสังเกตลูกกระต่ายให้มากขึ้น ลูกกระต่ายที่ตัวเล็กที่สุดอาจกินไม่ทันเพื่อนและมีโอกาสป่วยได้มากกว่าตัวอื่นในครอก อย่าลืมสังเกตอาการท้องอืดท้องเสียที่พบได้บ่อยช่วงหย่านมหรือเปลี่ยนอาหาร

5.กระต่ายน้อยเริ่มสำรวจโลก

อายุ 2-3 เดือน

ลูกกระต่ายวัยนี้เริ่มอยากรู้อยากเห็น อยากออกมาสำรวจนอกรังนอนรวมทั้งทำความรู้จักสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ในบ้าน ความซนของลูกกระต่ายวัยนี้ทำให้เจ้าของต้องตื่นเต้นอยู่บ่อยครั้ง แค่ให้แน่ใจว่าลูกกระต่ายจะสำรวจบริเวณรอบ ๆ ได้อย่างปลอดภัยก็เพียงพอ

พัฒนาการกระต่ายเด็กวัยนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าสนุกและตื่นเต้นที่สุด ลูกกระต่ายเรียนรู้ที่จะเล่นและจดจำ เราสามารถสอนทริคเล็ก ๆ เช่น เรียกชื่อลูกกระต่าย ฝึกใช้ห้องน้ำ ส่งสัญญาณเวลาอาหาร ฝึกอุ้ม ฝึกตัดเล็บ เป็นต้น

อย่าลืมให้รางวัลลูกกระต่ายเป็นผัก ผลไม้หรือขนมกระต่ายชิ้นเล็ก ๆ เมื่อพวกเขาเป็นเด็กดี ตอนนี้ล่ะลูกกระต่ายเรียนรู้ที่จะเข้ามาเล่นกับเจ้าของ อุ้มง่ายเกาหูเกาคางก็ยอม เชื่องสุด ๆ ไปเลย

แหล่งที่มาของข้อมูล

1.https://www.lovetoknowpets.com/small-mammals/how-tell-how-old-baby-rabbit-is-key-clues-chart

2.https://www.rabbitcaretips.com/are-baby-rabbits-born-with-teeth/

3.https://www.rabbitsanctuary.com.au/files/TRS-Rabbit-Food-List.pdf

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า