9 อาการสุนัขความจำเสื่อม ปัญหาชีวิตของหมาแก่

การเลี้ยงสุนัขในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เจ้าของดูแลเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว และประกอบกับวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้สุนัขอายุยืนขึ้น ซึ่งสุนัขบางตัวสามารถมีอายุได้เกือบ 20 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขสายพันธุ์เล็กมีอายุยืนยาวกว่าสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ เราสามารถพบเห็นสุนัขอายุเกิน 10 ปีได้ทั่วไปและยังดูสุขภาพดี แต่อย่างไรก็ตามหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามธรรมชาติของชีวิต ร่างกายย่อมเกิดความเสื่อมไปตามอายุขัย

สุนัขแก่ ความจำเสื่อม อาจอยู่รอบ ๆ ตัวเรา โดยที่เจ้าของอาจไม่ทราบว่าสุนัขของท่านเริ่มมีอาการความจำเสื่อม ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรม อาศัยความรักความเข้าใจในการดูแลไม่ต่างไปจากผู้สูงอายุ

หมาแก่ทุกตัวอาจเป็นสุนัขความจำเสื่อม

สาเหตุของอาการความจำเสื่อม

ความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นอาการที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นบริเวณสมอง ซึ่งแบ่งสาเหตุของอาการความจำเสื่อมออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. ความจำเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เป็นไปตามอายุ เป็นไปตามธรรมชาติ พบได้ในสุนัขอายุมากกว่า 10 ปีโดยประมาณ

2. ความจำเสื่อมที่เกิดจากความเจ็บป่วยที่ส่งผลถึงสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ความผิดปกติของเนื้อสมอง ความผิดปกติอื่น ๆ เช่น การทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ทำให้มีอาการคล้ายสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ แต่มักพบความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ผลตรวจเลือดผิดปกติ อาการชัก

สุนัขที่มีอาการสมองเสื่อมมักพบว่าเนื้อสมองมีขนาดเล็กลงไปด้วย กรณีที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ตามอายุที่มากขึ้น พบว่าสมองของสุนัขมีการเสื่อมคล้ายกับสมองของผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่สมองและเซลล์ประสาท ทำให้พื้นที่ของสมองและเซลล์ประสาทลดน้อยลง จนเกิดอาการความจำเสื่อม

อ่านเพิ่มเติม 10 อาการฉุกเฉินในสุนัข หากสุนัขมีอาการเหล่านี้ต้องพาไปโรงพยาบาลสัตว์ด่วน!!

9 เชคลิสต์เพื่อดูว่าสุนัขที่บ้านของคุณความจำเสื่อมหรือไม่

อาการความจำเสื่อมจะเริ่มแสดงออกมาเมื่อไหร่ บอกแน่ชัดได้ค่อนข้างยาก พบว่าสุนัขแก่อายุมากกว่า 10 ปี อาจเริ่มแสดงอาการบางอย่างที่บ่งบอกว่าเริ่มความจำเสื่อม ดังนี้

  • ตื่นกลางคืน กลางวันนอนเยอะ
  • อึหรือฉี่ไม่เป็นที่เป็นทาง (เมื่อก่อนไม่เคยเป็นแบบนี้)
  • ลืมเจ้าของ ลืมคนรู้จัก
  • ไม่สนใจ ไม่กระตือรือร้น เซื่องซึม
  • ร้องหรือเห่า อย่างไม่มีสาเหตุ
  • หลงทาง แม้ในบ้านตัวเอง
  • เดินตามเจ้าของไปด้วยทุกที่
  • เดินวน ไม่สามารถเดินหลบสิ่งกีดขวางได้ เดินชนผนังหรือติดอยู่มุมห้อง อย่างหาทางออกไม่ได้
  • กลัว!!! สิ่งที่ไม่เคยกลัวมาก่อน
สุนัขความจำเสื่อมช่วยเหลือควเองลำบาก
สุนัขความจำเสื่อมมักไม่สามารถเดินออกจากมุมห้องหรือหลบสิ่งกีดขวางได้

สัตวแพทย์วินิจฉัยอย่างไรว่าสุนัขความจำเสื่อม

การตรวจวินิจฉัยสุนัขความจำเสื่อมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถามประวัติและพฤติกรรมสุนัขในขณะที่อยู่บ้าน บางครั้งตามโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เจ้าของอาจได้รับแบบสอบถามมากรอก เพื่อช่วยในการประเมินพฤติกรรมสุนัขของสัตวแพทย์ อาจมีกิจกรรมบางอย่างให้สุนัขทำ เช่น สังเกตพฤติกรรมเมื่อเดินไปเจอสิ่งกีดขวาง มุมห้อง หรือกำแพง เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยด้วยการถามประวัติและพฤติกรรมสุนัขที่บ้านเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ เนื่องจากสุนัขแก่มักมาพร้อมความเสื่อมอื่น ๆ ของร่างกายที่อาจมีอาการคล้ายสมองเสื่อมได้ เช่น เนื้องอกในสมอง ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น การทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (hypothyriodism) หรือการทำงานผิดปกติของต่อมใต้สมองอะดรีนัล (hyperadrenocorticism)

บทสรุป

อาการสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ เป็นความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติ ดังนั้นจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมบางชนิดเพื่อชะลอความเสื่อม เช่น omega 3 และ 6 แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าหยุดความเสื่อมของร่างกายได้จริง หากสุนัขของท่านมีอาการรุนแรงมาก เช่น ไม่สามารถนอนหลับได้ในเวลากลางคืน หรือตื่นมาเห่าแบบไม่มีสาเหตุ แนะนำให้เจ้าของสุนัขขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์

หากสุนัขแก่ที่บ้านท่าน มีพฤติกรรมแปลก ๆ เชื่องช้า ไม่สนใจเจ้าของ หรือสุนัขหลงลืมเจ้าของ อาจรบกวนเจ้าของมากเป็นพิเศษในเวลากลางคืน ขับถ่ายเลอะเทอะ ไม่เป็นที่อย่างที่เคยทำ ขอให้เจ้าของตระหนักไว้ว่า สุนัขของท่านได้เข้าสู่วัยชราและต้องการการดูแลจากเจ้าของมากกว่าที่ผ่านมา


อ้างอิง

1.Elizabeth Head, A canine model of human aging and Alzheimer’s disease, Biochimica et Biophysica Acta 1832 (2013); 1384-1389

2.http://www.ivis.org/proceedings/Hills/brain/frank.pdf?LA=1..

3.https://www.hillspet.com/dog-care/healthcare/managing-dog-dementia-canine-cognitive-disorder

4.https://www.nature.com/articles/d41586-018-05718-

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า